เมนู

ของพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ก็เป็นพระดำรัส
จริงแท้แน่นอน ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์
ทั้งหลายแบกของหนักไปถึงที่ประสงค์แล้ว
ย่อมวางลงแน่ ฉันใด พระดำรัสของพระ-
พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ก็เป็นพระดำรัส
เที่ยงแท้แน่นอน ฉันนั้นเหมือนกัน.


ว่าด้วยพุทธการกธรรม 10



เอาเถอะ เราจักเลือกเฟ้นธรรมทั้งหลาย อัน
กระทำซึ่งความเป็นพระพุทธเจ้า ทางโน้น
และทางนี้ ทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำทั่วทั้งสิบทิศ
ตลอดถึงธรรมธาตุ เมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ใน
กาลนั้น ได้เห็นทานบารมีอันเป็นพุทธการก-
ธรรมข้อที่ 1 ซึ่งเป็นทางใหญ่ อันพระมเหสี
เจ้าทั้งหลายในกาลก่อน ทรงเลือกเฟ้นแล้ว
จึงสอนตนว่า เธอจงบำเพ็ญทานบารมี อัน
เป็นพุทธการกธรรมข้อที่ 1 นี้ สมาทานทำ
ไว้ให้มั่นก่อน ถ้าเธอปรารถนาบรรลุพระ-
โพธิญาณ เปรียบเหมือนหม้อน้ำที่ใคร ๆ
คนหนึ่งคว่ำปากลง น้ำก็ออกจากหม้อมิได้
เหลือ มิได้รักษาน้ำไว้ในหม้อนั้น แม้ฉันใด
ท่านเห็นยาจกทั้งหลายแล้ว ชั้นต่ำก็ตาม

ชั้นกลางก็ตาม ชั้นสูงก็ตาม จงให้ทานโดย
ไม่เหลือ เหมือนหม้อน้ำที่เขาคว่ำปากลง
ฉันนั้นเหมือนกัน.
จริงอยู่ พุทธการกธรรมจะมีเท่านี้ก็
หามิได้เราจักเลือกเฟ้นธรรมอันบ่มโพธิญาณ
แม้อื่น ๆ เมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ในครั้งนั้น ได้
เห็นสีลบารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ 2
อันพระมเหสีเจ้าทั้งหลาย ในกาลก่อน
ปฏิบัติแล้วส้องเสพแล้ว จึงสอนตนว่า เจ้า
จงบำเพ็ญสีลบารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อ
ที่ 2 นี้ สมาทานทำให้มั่นก่อน ถ้าเธอ
ปรารถนาบรรลุโพธิญาณ สัตว์จามรีมีขน
หางติดอยู่ในที่ใด ๆ ย่อมยอมตายในที่นั้น ๆ
ย่อมไม่ให้ขนหางเสียไป แม้ฉันใด เธอจง
บำเพ็ญศีลทั้งหลายในภูมิ 4 จงรักษาศีลทุก
เมื่อ เหมือนจามรีรักษาขนหาง ฉันนั้น
เหมือนกัน.
อันพุทธการกธรรมจักมีเท่านี้ก็หาไม่
เราเลือกเฟ้นธรรมทั้งหลายอันบ่มโพธิญาณ
แม้อื่น ๆ เมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ในกาลนั้น
ได้เห็นเนกขัมมบารมีอันเป็นพุทธการกธรรม
ข้อที่ 3 อันพระมเหสีทั้งหลายในกาลก่อน

ทรงปฏิบัติแล้ว ส้องเสพแล้ว จึงสอน
ตนว่า ท่านจงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีอันเป็น
พุทธการกธรรมข้อที่ 3 นี้ สมาทานกระทำ
ให้มั่นก่อน ถ้าเธอปรารถนาบรรลุโพธิญาณ
บุรุษผู้ติดอยู่ในเรือนจำ มีความทุกข์สิ้นกาล
นาน เขาไม่มีความยินดีในเรือนจำนั้น
แสวงหาการพ้นไปเท่านั้น ฉันใด เธอก็
เหมือนกันนั่นแหละ จงดูภพทั้งหมด
เหมือนเรือนจำ จงมุ่งหน้าต่อเนกขัมมะ
เพื่อความหลุดพ้นเถิด.
อันพุทธการกธรรมทั้งหลายจักมีเพียง
เท่านี้ก็หาไม่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมทั้งหลาย
อันบ่มโพธิญาณแม้อื่น ๆ เมื่อเราเลือกเฟ้น
อยู่ในครั้งนั้น ได้เห็นปัญญาบารมีอันเป็น
พุทธการกธรรมข้อที่ 4 อันพระมเหสีเจ้า
ทั้งหลายในกาลก่อนปฏิบัติแล้ว ส้องเสพ
แล้ว จึงสอนตนว่า ท่านจงบำเพ็ญปัญญา-
บารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ 4 นี้
สมาทานทำให้มั่นก่อน ถ้าเธอปรารถนา
บรรลุโพธิญาณ ภิกษุผู้ขอบิณฑะในตระ-
กูลต่ำ ปานกลาง ชั้นสูง ไม่เว้นตระกูล
ทั้งหลาย ย่อมได้อาหารพอยังอัตภาพให้

เป็นไปอย่างนี้ แม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้น
เหมือนกัน จงสอบถามชนผู้รู้ตลอดกาล
บำเพ็ญปัญญาบารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิ-
ญาณ.
อันพุทธการกธรรมจักมีเพียงเท่านี้
ก็หาไม่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมทั้งหลายบ่ม
โพธิญาณแม้อื่น ๆ เมื่อเราเลือกเฟ้นใน
ครั้งนั้น ได้เห็นวิริยบารมีอันเป็นพุทธการก-
ธรรมข้อที่ 5 อันพระมเหสีเจ้าทั้งหลายใน
กาลก่อนปฏิบัติแล้วซ่องเสพแล้ว จึงสอน
ตนว่า ท่านจงบำเพ็ญวิริยบารมีอันเป็น
พุทธการกธรรมข้อที่ 5 นี้ สมาทานทำให้
มั่นก่อน ถ้าท่านปรารถนาบรรลุโพธิญาณ
สีหมิคราชมีความเพียรไม่ท้อถอย มีใจประ-
คับประคองแล้วในการนั่ง การยืน การ
เดินทุกเมื่อ แม้ฉันใด ถึงท่านก็ฉันนั้น
เหมือนกัน จงบำเพ็ญวิริยบารมีประคอง
ความเพียรไว้ให้มั่น แล้วจักบรรลุสัมโพธิ-
ญาณ.
อันพุทธการกธรรมจักมีเท่านั้นก็หา
มิได้ เราจักเลือกเฟ้นธรรมทั้งหลายบ่ม
โพธิญาณแม้อื่น ๆ เมื่อเราเลือกเฟ้นธรรม

ในครั้งนั้น ได้เห็นขันติบารมีอันเป็น
พุทธการกธรรมข้อที่ 6 อันพระมเหสี
ทั้งหลายในกาลก่อนปฏิบัติแล้ว ส้องเสพ
แล้ว จึงสอนตนว่า เธอจงสมาทานพุทธ-
การกธรรมข้อที่ 6 นี้ ทำให้มั่นก่อน เธอ
มีใจไม่เป็นสองในขันติบารมีนั้น จักบรรลุ
สัมโพธิญาณ ธรรมดาว่า แผ่นดินย่อม
ทนสิ่งที่สะอาดบ้าง สิ่งที่ไม่สะอาดบ้างทั้ง
หมดที่เขาทิ้งไป ย่อมไม่ทำความยินดี
ยินร้าย แม้ฉันใด ถึงท่านก็ฉันนั้นเหมือน
กัน ต้องอดทนต่อการนับถือ และความ
ดูหมิ่นของชนทั้งปวง ท่านบำเพ็ญขันติ-
บารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ.
อันพุทธการกธรรมทั้งหลายมิได้มี
เพียงท่าน เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้อื่น ๆ
บ่มโพธิญาณเมื่อเราเลือกเฟ้น ในครั้งนั้น
ได้เห็นสัจจบารมีอันเป็นพุทธการกธรรม ข้อ
ที่ 7 อันพระมเหสีทั้งหลายในปางก่อนปฏิบัติ
แล้ว ส้องเสพแล้ว จึงสอนตนว่า ท่าน
จงสมาทานพุทธการกธรรมข้อที่ 7 นี้
ทำให้มั่นก่อน ท่านมีวาจาไม่เป็นสองใน
สัจจบารมีนั้น จักบรรลุสัมโพธิญาณ

ธรรมดาว่า ดาวประกายพรึก เป็นดาว
ประจำวิถี ในโลกนี้และเทวโลก ย่อมไม่
ก้าวล่วงวิถีในสมัยฤดูร้อน หรือฤดูฝน
แม้ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน
อย่าก้าวล่วงวิถีในสัจจะทั้งหลาย ท่าน
บำเพ็ญสัจจบารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิ-
ญาณ.
อันพุทธการกธรรมทั้งหลายจักไม่มี
เพียงเท่านี้ จักเลือกธรรมแม้อื่น ๆ บ่ม
โพธิญาณ เมื่อเราเลือกเฟ้นในครั้งนั้น
ได้เห็นอธิษฐานบารมี อันเป็นพุทธการก-
ธรรมข้อที่ 8 อันพระมเหสีทั้งหลายใน
ปางก่อนปฏิบัติแล้วส้องเสพแล้ว จึงสอน
ตนว่า ท่านจงสมาทานทำพุทธการกธรรม
ข้อที่ 8 นี้ให้มั่นก่อน ท่านเป็นผู้ไม่หวั่น-
ไหวในอธิฐานบารมีแล้ว จักบรรลุสัม-
โพธิญาณ ภูเขาศิลาล้วน ไม่หวั่นไหว
ตั้งมั่นดีแล้ว ไม่หวั่นไหวด้วยลมที่แรงกล้า
ย่อมดำรงอยู่ในที่ของตนเท่านั้น แม้ฉันใด
เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตั้งมั่นในอธิษฐาน-
บารมีในกาลทั้งปวง เธอบำเพ็ญอธิษฐาน-
บารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ.

อันพุทธการกธรรมทั้งหลายจักไม่มี
เท่านี้แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้อื่น ๆ
บ่มโพธิญาณ เมื่อเราเลือกเฟ้นในครั้งนั้น
ได้เห็นเมตตาบารมีอันเป็นพุทธการกธรรม
ข้อที่ 9 อันพระมเหสีทั้งหลายในกาลก่อน
ปฏิบัติแล้ว ส้องเสพแล้ว จึงสอนตนว่า
เธอจงเป็นผู้ไม่มีใครเสมอด้วยเมตตา สมา-
ทานพุทธการกธรรมข้อที่ 9 นี้ ให้มั่นก่อน
ถ้าท่านปรารถนาบรรลุโพธิญาณ ธรรมดา
ว่าน้ำย่อมแผ่ความเย็นไปสม่ำเสมอ และ
ย่อมชำระล้างมลทิน คือ ธุลีในชนทั้งหลาย
ทั้งคนดีและคนชั่ว แม้ฉันใด เธอก็จงเป็น
ฉันนั้นนั่นแหละ พึงเจริญเมตตาบารมี
เจริญเมตตาไปสม่ำเสมอในชน ผู้ทำประ-
โยชน์และผู้ไม่ทำประโยชน์แล้ว ท่านจัก
บรรลุสัมโพธิญาณ.
อันพุทธการกธรรมทั้งหลาย จักไม่มี
เพียงเท่านี้แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้
อื่น ๆ บ่มโพธิญาณ เมื่อเราเลือกเฟ้นใน
ครั้งนั้น ได้เห็นอุเบกขาบารมีอันเป็น
พุทธการกธรรมข้อที่ 10 อันพระมเหสีเจ้า
ทั้งหลายในกาลก่อนปฏิบัติแล้ว ส้องเสพ

แล้ว จึงสอนตนว่า เธอเป็นผู้คงที่มั่นคง
สมาทานพุทธการกธรรมข้อที่ 10 นี้ให้มั่น
ก่อนแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ ธรรมดา
แผ่นดินเว้นจากความยินดียินร้ายเหล่านั้น
ทั้งสอง ย่อมวางเฉยสิ่งอันไม่สะอาดและ
สิ่งสะอาดที่บุคคลโยนไปแล้ว แม้ฉันใด เธอ
ก็จงเป็นฉันนั้นนั่นแหละ บำเพ็ญอุเบกขา-
บารมี เป็นผู้คงที่ในสุขและทุกข์ในกาลทุก
เมื่อแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ.
ธรรมทั้งหลายอันบ่มโพธิญาณในโลก
มีประมาณเท่านี้แหละ ไม่เกินจากนี้ ท่าน
จงตั้งมั่นอยู่ในธรรมเหล่านั้นเถิด เมื่อเรา
พิจารณาธรรมทั้งหลาย ที่เป็นสภาวะ รสะ
และลักษณะเหล่านี้อยู่ ด้วยเดชแห่งธรรม
เหล่านั้น แผ่นดินหมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหว
แผ่นดินหวั่นไหวอยู่ ส่งเสียงดังเหมือน
เครื่องยนตร์หีบอ้อยที่เขาบีบแล้ว แผ่นดิน
ย่อมสั่นสะเทือนเหมือนจักรยนต์น้ำมัน
ฉะนั้น.
มหาสมุทรทั้งหลายก็ตีฟองนองเนือง
ทั้งจอมเขาที่มหาสมุทรนั้นก็โอนอ่อนน้อมลง
แล้ว เสียงดังหึ่ง ๆ ก็ดังก้องไปแล้วที่เขา

สิเนรุราช บริษัททั้งหลายอยู่ในที่อังคาส
พระพุทธเจ้าหวั่นไหวอยู่ หมดสติล้มลง ณ
พื้นดินในที่นั้น หม้อน้ำหลายพัน ตุ่มน้ำ
หลายร้อยกระทบกันและกันแตกละเอียดไป
ในที่นั้น มหาชนทั้งหลายต่างก็สะดุ้งตกใจ
กลัวหมุนไป มีใจหวาดหวั่น มาประชุมกัน
เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทีปังกร ทูลถามว่า ข้าแต่
พระผู้มีพระผู้จักษุ ความดีหรือความชั่วจักมี
แก่โลกอย่างไร โลกทั้งหมดถูกรบกวนแล้ว
ขอพระองค์จงทรงบรรเทาอันตรายนั้นด้วย
เถิด ครั้งนั้น พระมหามุนีทีปังกรพุทธเจ้า
ทรงยังมหาชนเหล่านั้นให้ทราบแล้วว่า ท่าน
ทั้งหลายจงวางใจเถิด อย่ากลัวเลยในการ
หวั่นไหวแห่งแผ่นดินนี้ เราได้พยากรณ์
ดาบสใดในวันนี้ว่า เขาจักเป็นพระพุทธเจ้า
ในโลก ดาบสนี้พิจารณาธรรมอันพระชินเจ้า
ส้องเสพแล้วในกาลก่อน เมื่อดาบสนั้น
พิจารณาธรรมอันเป็นพุทธภูมิโดยไม่เหลือ
ด้วยเหตุนั้น แผ่นดินหมื่นโลกธาตุในมนุษย์
และเทวดานี้ จึงหวั่นไหวแล้ว เพราะสดับฟัง
พระดำรัสของพระพุทธเจ้า ใจของพวกเขา
ก็สงบทันที มนุษย์และเทวดาทั้งหมดจึงเข้า

ไปหาเราแล้วอภิวาทอีกครั้งหนึ่ง เราสมาทาน
พุทธคุณกระทำใจให้มั่นแล้ว นมัสการพระ-
ทีปังกรพุทธเจ้า แล้วลุกขึ้นจากอาสนะใน
ขณะนั้น เมื่อเราลุกจากอาสนะ เทวดาและ
มนุษย์ทั้งสองพวกต่างก็โปรยปรายดอกไม้
ทั้งทิพย์ ทั้งเป็นของมนุษย์ เหล่าเทวดา
และมนุษย์ทั้งสองพวกต่างก็ให้เราทราบถึง
ความสวัสดีว่า ความปรารถนาที่ท่าน
ปรารถนาแล้วเป็นเรื่องใหญ่ ท่านจักได้
โพธิญาณนั้นตามความปรารถนา ขอเสนียด
จัญไรทั้งปวงจงพินาศไป ความโศก โรคจง
สูญสิ้นไป อันตรายจงอย่ามีแก่ท่าน ขอท่าน
จงตรัสรู้โพธิญาณอันยอดเยี่ยมพลันเถิด
ต้นไม้ดอกย่อมเบ่งบานในสมัย (ฤดู) ที่มา
ถึงแล้ว แม้ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจง
เบิกบานด้วยพุทธญาณฉันนั้นเถิด พระสัม-
พุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทรงบำ
เพ็ญบารมี 10 ฉันใด ขอมหาวีรเจ้าจงบำเพ็ญ
บารมี 10 ฉันนั้นเถิด พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ตรัสรู้ ณ โพธิมณฑล ฉันใด ขอ
มหาวีรเจ้า จงตรัสรู้โพธิญาณของพระชินะ

ฉันนั้นเถิด พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ทรงประกาศพระธรรมจักร ฉันใด
ขอมหาวีรเจ้า จงประกาศธรรมจักร ฉันนั้น
เถิด พระจันทร์ในวันปุรณมีบริสุทธิ์ ย่อม
ไพโรจน์ ฉันใด ขอท่านจงมีใจเต็มแล้ว ยัง
หมื่นโลกธาตุให้ไพโรจน์ ฉันนั้นเหมือนกัน
พระอาทิตย์พ้นจากราหูแล้ว ย่อมโชติช่วงมี
แสงอันกล้า ฉันใด ขอท่านจงปลดเปลื้อง
โลกโชติช่วงด้วยสิริ ฉันนั้นเหมือนกัน แม่
น้ำสายใดสายหนึ่ง ย่อมไหลลงสู่มหาสมุทร
ฉันใด ขอชาวโลกทั้งเทวโลกจงไหลลงสู่
สำนักของท่าน ฉันนั้นเถิด.
เรานั้นอันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ชมเชยสรรเสริญแล้ว สมาทานธรรมทั้ง 10
เมื่อจะบำเพ็ญธรรมเหล่านั้นให้บริบูรณ์ จึง
เข้าไปสู่ป่าใหญ่ ( ป่าหิมพานต์ ) ในกาล
นั้นแล.

จบสุเมธกถา
ชาวรัมมนครเหล่านั้น อังคาสพระ-
โลกนายกพร้อมทั้งหมู่สงฆ์ ในกาลนั้นแล้ว
พากันเข้าถึงพระศาสดาพระนามว่า ทีปังกร

พระองค์นั้นเป็นสรณะแล้ว พระตถาคตเจ้า
พระนามว่าทีปังกร ทำชนบางเหล่าให้ตั้งอยู่
ในสรณาคมน์ บางเหล่าให้ตั้งอยู่ในศีล 5
บางเหล่าตั้งอยู่ในศีล 10 อันประเสริฐ ให้
สามัญผล 4 อันเป็นผลสูงสุดแก่ชนบางพวก
ให้ธรรมอันไม่มีธรรมอื่นเสมอ คือปฏิสัม-
ภิทา 4 แก่ชนบางพวก พระนราสภทรง
ประทานสมาบัติอันประเสริฐ 8 แก่ชน
บางเหล่า ประทานวิชชา 3 และอภิญญา 6
แก่ชนบางเหล่า พระมหามุนี พระนามว่า
ทีปังกรพุทธเจ้า ตรัสโอวาทประชุมชนด้วย
ความเพียร ได้ยังคำสั่งสอนของพระองค์ผู้
เป็นโลกนาถให้แพร่หลายแล้วด้วยความ
พากเพียร พระพุทธเจ้าทีปังกร ทรงมี
ลักษณะมีพระหนุใหญ่ และลำพระศองาม
สมลักษณะ ยังประชุมชนให้ข้ามพ้นทุคติ
พระมหามุนีทรงเห็นชนผู้ควรตรัสรู้ใน
หนทางแม้ตั้งแสนโยชน์ ก็เสด็จไปยังชนนั้น
ให้ตรัสรู้โดยพลัน.
ศาสนาของพระทีปังกรนั้น ในการ
ตรัสรู้ครั้งแรกของหมู่สัตว์ ได้มีประมาณถึง
ร้อยโกฏิ ในครั้งที่สองมีประมาณเก้าสิบโกฏิ

ในครั้งที่สาม พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่
ดาวดึงส์พิภพ ได้มีการตรัสรู้ของเทพยดา
ถึงเก้าหมื่นโกฏิ.
ในศาสดาของพระทีปังกรนั้น ได้มี
การประชุมใหญ่สามครั้ง ครั้งแรกมีพระ-
สาวกมาประชุมประมาณแสนโกฏิ ครั้งที่สอง
เมื่อพระชินเจ้าทรงเข้านิโรธสมาบัติที่นารท-
กูฏะ มีพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทินมา
ประชุมร้อยโกฏิ ครั้งที่สาม เมื่อพระมหาวีระ
ประทับอยู่ ณ ภูเขาสุทัสสนะ ได้ประชุมทำ
ปวารณากรรมด้วยภิกษุสงฆ์ประมาณเก้า-
หมื่นโกฏิ.
ในสมัยนั้น เราบวชเป็นชฏิล มี
ตบะกล้า บรรลุอภิญญา 5 เที่ยวไปในอากาศ
ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ถึงสองแสนโกฏิ
ส่วนตรัสรู้ทีละพัน หรือสองพันมีประมาณ
มากมาย ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทีปังกร ในครั้งนั้น บริสุทธิ์ปราศจากมลทิน
แพร่หลาย เจริญรุ่งเรืองเป็นประโยชน์แก่ชน
เป็นอันมาก พระขีณาสพประมาณ 4 แสน
บรรลุอภิญญา 6 มีฤทธิ์มาก ย่อมแวดล้อม
พระพุทธเจ้าทีปังกรผู้ทรงรู้แจ้งโลกทุกเวลา.

สมัยนั้น ใคร ๆ ซึ่งยังเป็นพระเสขะ
ยังไม่ถึงที่สุดพรหมจรรย์ ย่อมละความเป็น
มนุษย์ (ตาย) ไป เขาผู้นั้นย่อมถูกติเตียน
ปาพจน์ คือ พระธรรมวินัยของพระองค์นั้น
อันพระขีณาสพปราศจากมลทิน เป็นพระ-
อรหันต์ผู้คงที่ประกาศดีแล้ว ย่อมงามใน
โลกทั้งเทวโลก.
นครที่พระองค์ทรงอุบัติ ชื่อว่า
รัมมวดี กษัตริย์นามว่า สุเทพ เป็นพระชนก
พระนางสุเมธาเทวี เป็นพระชนนีของพระ-
ศาสดาพระนามว่า ทีปังกร พระสุมังคละ
และพระติสสะได้เป็นคู่อัครสาวก อุปัฏฐาก
ของพระศาสดาทีปังกร ชื่อว่า พระสาคตะ
พระเถรีชื่อว่า นันทา พระเถรีชื่อว่า สุนันทา
ได้เป็นคู่อัครสาวิกา ต้นไม้ตรัสรู้ของพระผู้มี
พระภาคเจ้านั้น เรียกว่า ปิปผลิ (ไม้เลียบ).
พระมหามุนีทีปังกร มีพระวรกาย
สูง 80 ศอก งามดุจไม้ประจำทวีป ชื่อว่า
พระยารัง ซึ่งบานสะพรั่ง รัศมีของพระองค์
แผ่ซ่านไปโดยรอบ 10 โยชน์ มีพระชน-
มายุแสนปี พระองค์ดำรงอยู่ ยังประชุมชน

มากให้ข้ามพ้นสงสาร ทรงยังพระสัทธรรม
ให้โชติช่วงแล้ว ให้มหาชนข้ามพ้นสาครไป
แล้วตลอดพระชนม์ชีพ พระองค์พร้อมทั้ง
พระสาวก ได้ประกาศพระธรรมวินัยให้
รุ่งโรจน์แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
เหมือนกองไปที่ลุกโพลงขึ้นแล้วก็ดับไป
พระฤทธิ์ พระยศ และจักรรัตนะที่ฝ่าพระ-
ยุคลบาททั้งหมดก็อันตรธานไปพร้อมกัน
เพราะสังขารทั้งปวง เป็นของว่างเปล่า มี
ความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาแน่แท้.

จบทีปังกรกถา

โกณฑัญญกถาที่ 2



ก็ในกาลส่วนอื่นอีก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ทีปังกร เสด็จ
ดับขันธปรินิพพานล่วงแล้วหนึ่งอสงไขย พระศาสดาพระนามว่า โกณฑัญญะ
ก็ได้เสด็จอุบัติขึ้น แม้ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็ได้มีสาวกสันนิบาต
(ประชุมพระสาวก) 3 ครั้ง การประชุมครั้งแรก มีพระสาวกมาประชุมประมาณ
แสนโกฏิ ครั้งที่สอง มีพระสาวกมาประชุมประมาณพันโกฏิ ครั้งที่สาม มี
พระสาวกมาประชุมเก้าสิบโกฏิ.